วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผลไม้เพื่อสุขภาพ

ผลไม้เพื่อสุขภาพ
มะเฟือง (Star apple) นอกเหนือจากความสวยงามแปลกตาในเรื่องรูปทรงแล้ว ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ มะเฟืองสุกยังอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายแก้ท้องผูก ช่วยขับเสมหะได้
ในด้านสมุนไพร เราสามารถใช้ส่วนต่างๆของมะเฟืองมารักษาโรคได้ดังต่อไปนี้
*                      ผล คั้นเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยบรรเทาอาการอาการเจ็บคอ ไข้หวัด บรรเทาอาการนิ่วในปัสสาวะขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะช่วยลดอาการร้อนใน ช่วยขจัดรังแค นอกจากนั้นน้ำคั้นจากผลมะเฟือง ยังใช้ลบรอยเปื้อนบนมือ เสื้อผ้า และของใช้ต่างๆได้ดีอีกด้วย
*                      ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำ กินแก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับระดู หรือหากนำมาบดให้ละเอียดพอกบนผิวหนัง จะช่วยลดอาการอักเสบ ช้ำบวม แก้ผื่นคัน กลากเกลื้อน และอีสุกอีใส
ราก มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ต้มกับน้ำ ช่วยดับพิษร้อน แก้อาการปวดศรีษะ ปวดตามข้อต่างๆในร่างกาย ปวดแสบในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องร่วง ส่วนดอกมะเฟืองนิยมนำมาต้มน้ำดื่ม เพื่อช่วยในการขับพิษและขับพยาธิ
ข้อควรระวัง ผลมะเฟืองมีกรดออกซาติกอยู่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้เป็นฝ้าได้ อีกทั้งไม่ควรกินในขณะมีประจำเดือนเพราะจะทำให้รู้สึกปวดท้อง สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้แท้งได้
ส้มโอ (Pomelo) ในส้มโอมีสารเพคติน (Pectin) สูง จึงมีคุณสมบัติช่วยลดคลอเลสเตอรอลในเลือด อีกทั้งยังมีสารโมโนเทอร์ปีนที่ช่วยในการกวดจับสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้นส้มโอยังมีคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งคือช่วยขับลมในกระเพาะ อาหารและลำไส้ ช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย
*                      ใบสดนำมาตำให้ละเอียด แล้วย่างไฟให้อุ่น ใช้พอกบริเวณที่ปวดบวมหรือปวดศีรษะได้
*                      เปลือกผล ของส้มโอมีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด ใช้เป็นยาขับลม ขับเสมหะ แก้ท้องอืด แน่นหน้าอก ไอ สมารถใช้เปลือกผล ตำพอกฝี และใช้จุดไฟไล่ยุงได้ หรือหากนำเปลือกผลส้มโอมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำไปนึ่งรับประทานทุกเช้าเย็น ก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืดได้
*                      เมล็ดของส้มโอ มีสรรพคุณช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ลดอาการปวดบวมของผิวหนัง และยังช่วยลดปริมาณของเสมหะที่มีในลำคอได้อีกด้วย
*                      ผล ช่วยเจริญอาหาร หากรับประทานเนื้อของผลส้มโอภายหลังอาหาร จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
มะยม (Star gooseberry) เป็นผลไม้พื้นบ้านที่ให้รสเปรี้ยวอมฝาด ในผลมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซีสูง จึงมีฤทธ์ในการช่วยสมานแผลและใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการหลอดลมอักเสบ ในยอดอ่อนมีฟอสฟอรัส ช่วยในการขับเหงื่อ และกระตุ้นการเจริญอาหาร รากของมะยมมีสารแทนนินอยู่ค่อนข้างสูง ใช้แก้ไข้ แก้อาการหอบหืดและปวดศีรษะ
*                      รากมะยม ใช้รากมะยมประมาณ1กิโลกรัมต้มกับน้ำ 10 ลิตรให้เดือดทิ้งไว้ให้อุ่น นำมาอาบ หรือใช้รากมะยมฝนกับน้ำซาวข้าวทาวันละ 2-3 ครั้งอาการคันจะดีขึ้น
*                      แก่นมะยม นำแก่นมะยมมาฝานให้ได้ขนาดชิ้นเท่าฝ่ามือ 3 ชิ้น ต้มกับน้ำ 1 แก้ว นาน 5 นาที ดื่มให้หมด 1 แก้ว กินติดต่อกัน 1อาทิตย์จะช่วยให้เลิกบุหรี่ได้
*                      ใบ นำใบแก่พร้อมก้าน1กำมือ ไปต้มพร้อมน้ำตาลกรวดให้เดือดนาน 5-10 นาทีแล้วดื่ม จะช่วยลดอาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูงได้
ข้อควรระวัง รากของมะยมมีพิษ ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ใหญ่ โดยใช้ผสมกับอาหาร ถ้ากินเข้าไปจะทำให้เกิดอาการเมาและอาเจียนได้
มังคุด (Mangosteen) เป็นผลไม้ที่เนื้อในของผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน กลมกล่อม ในเปลือกมังคุดยังมีสารเทนนิน (Tannins) และสารมีสารแมงโกติน (Mangostin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง อยู่มากถึง 7-14 เปอร์เซนตร์ ในแง่สมุนไพร เปลือกมังคุดจึงมีสรรพคุณในการใช้รักษาโรคผิวหนัง และนิยมนำไปสกัดทำเป็นสบู่ ครีมพอกหน้า และยารักษาสิวฝ้าได้อีกด้วย
*                      เปลือกมังคุดแห้ง ใช้เปลือกมังคุดแห้งของผลแก่ฝนกับน้ำปูนใส ให้ได้ตัวยาข้นๆทาบริเวณที่เป็นแผลพุพอง เป็นหนอง หรือบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนวันละ 2-3 ครั้งอาการจะดีขึ้น หรือใช้เปลือกมังคุดแห้ง 1-2 ผลต้มกับน้ำ1 ลิตร ล้างแผลวันละ 3-4 ครั้ง ก็ได้เช่นเดียกัน หรือนำเปลือกมังคุดที่ตากแดดจนแห้ง ไปฝนกับน้ำให้ได้ความเข้มข้น ทาบริเวณที่เป็นวันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยให้แผลน้ำกัดเท้าแห้งเร็วขึ้น
*                      เปลือกมังคุด นำไปต้ม ใช้เป็นยากลั้วคอ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและต้านเชื้อราในปาก เวลาเป็นแผลในปาก
*                      เปลือกแห้งของผลแก่ ใช้เปลือกมังคุดแห้ง1ลูก ต้มกับน้ำให้เดือด 5 -10 นาที รับประทานครั้งละ1 ช้อนโต๊ะ ทุกๆ 4 ชั่วโมง แก้ท้องเสีย ท้องร่วงเรื้อรัง บิดถ่ายเป็นมูกเลือด
หรือใช้เปลือกมังคุดแห้งครึ่งผล ย่างไฟ ให้เกรียม บดเป็นผง ละลายในน้ำครึ่งแก้ว รับประทานทุก 2 ชั่วโมง อาการจะทุเลา
มะขาม (Tamarind) ในเนื้อมะขามมีสารแอนทราควินิน (Antraquinone) ซึ่งช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ นอกจากนั้น ยังมีกรดอินทรี (organic acid) อยู่หลายชนิด เช่น กรดทาร์ทาร์ริก (Tartaric acid) และกรดซิตริค (Citric acid) ทำให้มีฤทธ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เพิ่มกากใยอาหาร และช่วยหล่อลื่นให้ขับถ่ายสะดวก
*            
*                                     เปลือกของเมล็ด นำเมล็ดมะขามสุกไปคั่วไฟให้สุก กะเทาะเอาแต่เปลือกไปบดไฟให้ละเอียดแล้วคลุกกับน้ำมันละหุ่งหรือน้ำมัน มะพร้าว พอกแผลที่โดนไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกวันละ 2-3 ครั้ง
*                                     เมล็ดมะขาม นำเมล็ดมะขามไปคั่วให้สุก กะเทาะเปลือกทิ้ง นำไปแช่น้ำจนนิ่ม ตำพอกแผล รักษาฝีและแผลเรื้อรัง
*                                     เมล็ดมะขาม เอาเมล็ดไปผ่ากลางตามแนวขวาง นำส่วนที่ถูกผ่าไปฝนกับน้ำมะนาว ใช้ปิดรอยแมลงกัด เมล็ดมะขามจะช่วยดูดพิษแมลงสัตว์กัดต่อยออกมาได้
*                                     เนื้อมะขาม นึ่งเนื้อมะขามให้สุก คั้นกับน้ำข้นๆ เติมเกลือลงไปเล็กน้อย ใช้จิบบ่อยๆ แก้ไอ ขับเสมหะ
ทับทิม (Pomecranate) ส่วนต่างๆของทับทิมสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผล ซึ่งมีรสหวานอมเปรี้ยว ออกฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง แก้เจ็บคอ แก้โลหิตจาง ห้ามเลือด รักษาแผล แก้อาการปวดกระเพาะอาหาร ขับพยาธิในลำไส้ แก้ท้องร่วง เป็นต้น นอกจากนั้น ในเปลือกผลแก่ของทับทิมยังมีกรด Gullotannic ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค แก้อาการท้องเดินได้ ซึ่งกองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้วิเคราะห์ไว้แล้วว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน ทั้งยังสามารถใช้รักษาโรคบิดที่เกิดจากแบคทีเรียและอะมีบาได้ผลดีอีกด้วย
*            
*                                     น้ำทับทิม นำทับทิม 1 ลูกไปคั้น ดื่มน้ำตอนเช้าครั้งละ1 แก้วจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ (สูตรนี้เหมาะกับคนที่ตั้งครรภ์) ในกรณีของคนที่ดื่มแก้ท้องอืดและบำรุงสายตาให้ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ดื่มหลังอาหารจะช่วยให้ลำไส้ดูดซึมได้ดีขึ้น
*                                     เปลือกทับทิม นำเปลือกทับทิมตากแห้งไปฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ทาทุกครั้งที่มีอาการน้ำกัดเท้า
เปลือกผล ใช้เปลือกผลแก่ที่แห้ง ขนาด 1/4 ของผลทับทิม ต้มกับน้ำปูนใส ดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะทุกๆ 4 ชั่วโมง อาการท้องเสียและบิดจะดีขึ้น
*                                     เปลือกผล นำเปลือกผลแก่ที่สด ครึ่งลูก ต้มกับน้ำ 1 แก้ว อมกลั้วคอทุกเช้าและก่อนนอน แก้อาการเจ็บคอ ปวดฟัน
มะขามป้อม (Emblic) นอกเหนือจากจะมีวิตามินซีสูงกว่าน้ำส้มถึง 20 เท่าในปริมาณที่เท่ากันแล้ว มะขามป้อมยังมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาลดไข้ ยาฟอกเลือด ยาระบาย บำรุงหัวใจ ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ริดสีดวง ได้อีกด้วย
*            
*                                     เปลือกต้น นำไปตากให้แห้ง บดเป็นผง โรยบริเวณบาดแผล เพื่อห้ามเลือดในแผลสด
*                                     ราก เอารากต้นมะขามป้อมสด ไปตำพอแหลก พอกแผล รากมะขามจะช่วยดูดพิษตะขาบออกมา
*                                     ลูกมะขามป้อม เอาลูกมะขามป้อม 50-70 ลูก ไปต้มให้สุก แล้วแกะเอาเมล็ดออก ตำให้ละเอียด แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นเอามาผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน กินวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 เม็ด จะทำให้ร่างกายแข็งแรง แก้อาการอ่อนเพลีย
ผลแห้ง นำผลมะขามป้อมที่ตากจนแห้ง 2-3 ผลแกะเอาเมล็ดออกผสมนมสด 1 แก้ว ปั่นให้เป็นครีมดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดกัน 7 วัน จะช่วยบรรเทาโรคกระเพาะ
กล้วยสามารถรักษาโรคกระเพาะได้

การกินกล้วยหอมหนึ่งผล ไม่เพียงแต่ทำให้อิ่มท้องเท่ากับข้าวหนึ่งจานเท่านั้น แต่กล้วยยังให้ผลทางยาและสมุนไพรที่ข้าวไม่มี คือสามารถดูแลและรักษากระเพาะอาหารของเราได้

ดร.จีน คาร์เพอร์ นักโภชนาการ แจ้งว่า
 
กล้วยเป็นผลไม้ที่ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยในกระเพาะ (dyspepsia) ได้เป็นอย่างดี การรับประทานกล้วยเป็นประจำจะทำให้กระเพาะแข็งแรง ปัญหาจากกรดในกระเพาะจะลดลง ผู้ที่มีปัญหาแผลในกระเพาะจะมีอาการดีขึ้น
นอกจากนี้ กล้วยยังมีฤทธิ์ทางปฏิชีวนะ สามารถฆ่าเชื้อได้อีกด้วย

จากการศึกษาผู้ป่วย 46 คน ที่มีอาการปวดในกระเพาะ

โดยไม่มีแผลในกระเพาะอาหาร โดยจัดให้ผู้ป่วยจำนวน 23 ราย ได้รับกล้วยผงบรรจุแคปซูลทุกวัน ส่วนอีก 23 ราย ให้รับแคปซูลของยาหลอกที่บรรจุแป้งธรรมดา พบว่า ผ่านไปได้ 8 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ได้รับผงกล้วย ร้อยละ 50 ไม่มีอาการปวดเกิดขึ้นเลย และร้อยละ 25 มีอาการดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกจำนวน ร้อยละ 20 เท่านั้นที่บอกว่ามีอาการค่อยยังชั่วขึ้น แสดงให้เห็นว่า การรัประทานกล้วย แม้ว่าจะอยู่ในรูปของกล้วยผง ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะได้

ชื่ออื่น : บลีมิง(มาเลย์-นราธิวาส) หลิงปลิง มะเฟืองตรน(ใต้) กะลิงปริง ปลิมิง ลิงปลิง(ระนอง)

ประโยชน์ทางอาหาร : ผล-เนื้อผลประกอบเป็นเครื่องปรุงอาหารเพิ่มรสชาดให้เปรี้ยว และนิยมบริโภคสดเป็นผลไม้ และแปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่ม

ประโยชน์ทางยา : ใบ-รักษาโรคผิวหนัง ขับพยาธิ ขับเสมหะ ต้น-ใช้ต้นอ่อนเป็นยาระบาย

สภาพที่เจริญเติบโต : พบตามป่าดิบชื้น ปัจจุบันนิยมปลูกเพื่อนำมาปรุงเป็นอาหาร

ฤดูที่ใช้ประโยชน์ : ตุลาคม-มกราคม

ข้อระวัง : ห้ามบริโภคเกินขนาดจะทำให้อาเจียนได้

มะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีด่างสูง
น้ำมะพร้าวและกะทิสามารถรักษาโรคที่เกิดจากร่างกายมีความเป็นกรดมากเกินไปได้ คนไทยถือกันว่ามะพร้าวเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูกได้ ส่วนคนจีนเชื่อว่ามะพร้าวมีฤทธิ์เป็นกลาง ไม่เป็นทั้งหยินและหยาง มีสรรพคุณในการขับพยาธิ

สำหรับคนไข้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกัน
ให้ดื่มแต่น้ำมะพร้าวอย่าให้ทานอย่างอื่น เพราะร่างกายจะดูดซึมกลูโคสไปใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

แม่ที่เพิ่งคลอดบุตรไม่มีน้ำนมเพียงพอให้ลูกกิน
สามารถให้น้ำมะพร้าวเสริมน้ำนมแม่ได้ เพราะมีความบริสุทธ์กว่านมผงหรือนมวัว ไม่มีสารเคมีเจือปนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็กถ้า ผู้หญิงคนไหนที่เป็นสิวหรือมีรอบเดือนติดต่อกันไม่หยุด ให้กินแต่น้ำมะพร้าวอย่างเดียว ครั้งที่ดื่มอาการเหล่านั้นอาจจะเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งดีเพราะร่างกายถูกกระตุ้นให้ขับของเสียออกมา

น้ำมะพร้าวดื่มได้ทุกวัน ทุกเพศทุกวัย

เพราะเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติ นอกจากจะมีประโยชน์แล้ว ยังทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่เป็นอันตรายเหมือนน้ำอัดลม อย่างไรก็ตาม คนเป็นโรคไตและโรคเบาหวานไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าว

น้ำมะพร้าวเปิดลูกแล้วควรดื่มเลย ไม่ควรทิ้งไว้นาน ถ้าเราตัดหรือหั่นผลไม้ อย่าทิ้งไว้เกินครึ่งชั่วโมง แม้จะเก็บในตู้เย็นก็ตาม ควรกินให้หมดทีเดียว ผลไม้แต่ละอย่างมีพลังชีวิต ถ้ากินผลไม้สุกจากต้นจะได้รับพลังชีวิตสูง หากเก็บทิ้งค้างไว้ พลังชีวิตของผลไม้จะลดต่ำลงเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เก็บ

ปัจจุบันหากต้องการดื่มน้ำมะพร้าวควรต้องระวังเรื่องสารฟอกขาวหากเป็นไปได้ควรซื้อเป็นทะลายมาจากสวนโดยตรง เมื่อต้องการดื่มค่อยตัดทีละลูกจากทะลาย

***มะพร้าวไม่ได้มีประโยชน์แค่ผลเท่านั้นยังมีส่วนอื่นๆ อีก *** เช่น

ราก - ใช้แก้พิษไข้ แก้ท้องเสีย โดยนำรากมาฝนกับน้ำข้าวกินดับพิษไข้ พิษผิดสำแดง

น้ำมะพร้าว - ก็ถือว่าเป็นยา ใช้บำรุงธาตุไฟ แก้เลือดกำเดา ใช้ทดแทนน้ำที่เสียไปขณะท้องเสียโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ใช้เป็นน้ำกระสายยาหอม แก้อาการอ่อนเพลีย

ดอก - ใช้แก้ท้องเสีย แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปากเปื่อย แก้โลหิตเป็นพิษ ต้มอมแก้ปากเปื่อย

เนื้อมะพร้าว - ใช้แก้อาการนอนกัดฟันในเด็ก

น้ำมันมะพร้าว - ใช้ผสมยาหลายชนิด ส่วนมากเป็นยาทา

ผงถ่านจากกะลามะพร้าว - แก้ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ เล่ากันว่าในการกระเบิดของโรงไฟฟ้าที่เชอร์โนบิล มีการใช้ผงถ่านจากกะลามะพร้าวลดปริมาณกัมมันตภาพรังสีในร่างกายผู้ป่วยลงไปได้ 500-1000 เท่า
*                      กินผลไม้เป็นยาอย่างไรไม่ให้มีผลข้างเคียง........

ไม่เฉพาะแต่ผลไม้ไทย แต่สมุนไพรทุกชนิดแม้จะมีผลข้างเคียงในการรักษาค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับยา แผนปัจจุบัน แต่หากใช้โดยไม่ระมัดระวังก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นก่อนนำผลไม้หรือสมุนไพรใกล้ตัวมาปรุงเป็นยา ควรศึกษาและหาทางป้องกันดังต่อไปนี้
*                                     กิน แต่น้อยเพื่อความมั่นใจ หากไม่เคยกินยาขนานนั้นมาก่อน ควรเริ่มกินในปริมาณที่น้อยๆ เช่น กินเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดที่กำหนดมาให้ เพื่อรอดูว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายหรือไม่ หากไม่มีอะไรเกิดขึ้นค่อยกินต่อไป
*                                     อย่า ใช้ยาเกินขนาดและผิดประเภท เป็นต้นว่า ยาบางชนิดใช้ต้มผสมน้ำดื่มก็ไม่ควรนำไปต้มจนงวด เพราะการกินยาที่มีความเข้มข้นเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายได้
*                                     ศึกษาพิษของยาก่อนกิน ก่อนที่จะใช้ยาสมุนไพรไม่ว่าประเภทใดก็ตาม ควรรู้พิษและผลข้างเคียงของยาเสียก่อน เพื่อจะได้ระมัดระวังมากขึ้น
*                                     ไม่ ควรกินยาตัวเดียวติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น แม้ยาสมุนไพรส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีผลข้างเคียงในระยะเฉียบพลัน แต่การกินติดต่อกันนานๆอาจทำให้เกิดการสะสมและเป็นอันตรายได้
*                                     http://www.yourhealthyguide.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น